การปลูกผักหวานบ้าน

การปลูกผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้านเป็นพืชผักสวนครัวที่อยู่คู่คนไทยมานานมากแล้วมีเกษตรกรหลายรายที่ปลูกผักหวานบ้านไว้เป็นอาชีพเสริม โดยการปลูกและดูแลรักษาผักหวานบ้านมีวิธีการดังต่อไปนี้
การขยายพันธุ์ผักหวานบ้าน
 ขยายพันธุ์โดยการปักชำโดยตัดกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ไม่แก่และอ่อนเกินไป ยาวกิ่งละ นิ้ว ประมาณ 3-4 ตาปักชำในถุงใส่ขี้เถ้าแกลบตำไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 
เดือนก็สามารถนำไปปลูกได้ ขุดหลุมปลูกใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม.ระหว่างแถว เมตร (เพื่อสะดวกในการเดินเก็บ)ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมนำต้นพันธุ์ที่เพาะไว้มาลงปลูกในหลุมกลบดินให้แน่น
การดูแลรักษาผักหวานบ้านการใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอกปีละประมาณ ครั้งต่อปีการรดน้ำผักหวานบ้านเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ควรให้น้ำท่วมขังที่โคนต้นเพราะฉะนั้นควรรดน้ำทุกวันใช้ขุยมะพร้าวมาคลุมโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชื้นควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการตัด (ไม่ควรใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในแปลงผักหวานเนื่องจากอาจจะทำให้ต้นผักหวานตายได้ )ต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งที่ตัดยอดถ้าหากว่ามีเพลี้ยแป้งก็ให้ใช้น้ำผงซักฟอกฉีดพ่นให้ทั่วเพลี้ยก็จะตายไปเอง การเก็บผักหวานบ้านการเก็บผลผลิตผักหวานบ้านควรเก็บยอดผักหวานในช่วงเช้าจะได้ยอดผักหวานบ้านที่สดและกรอบวิธีเก็บให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่ง (ห้ามเด็ด) เพราะจะทำให้ยอดสวยและไม่ช้ำให้เก็บยอดที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปต้องตัดยอดให้ถึงโคนกิ่งที่แตกออกมา
ต้องมีการเก็บแบบสลับกันเพื่อที่จะเก็บได้ทุกวันซึ่งผักหวานที่เก็บยอดแล้วจะสามารถเก็บได้อีกครั้งประมาณ 14 วัน
จากนั้นก็นำมาตัดแต่งให้ยอดมีความยาวประมาณ 25 ซม.แล้วมัดเป็นกำๆ (กำละประมาณ ขีด)
จะขายได้ในราคากำละประมาณ 6-7 บาท
เทคนิคที่สำคัญในการปลูกผักหวานคือเร่งให้ผักหวานออกยอดเร็วคือการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งที่เก็บยอดหลังจากนั้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือปุ๋ยเกล็ดก็ได้จะทำให้ได้ยอดผักหวานที่สวย ยอดยาว ยอดอวบใบสวย
ข้อดีของการปลูกผักหวานบ้าน
                                                                                                          
ผักหวานปลูกครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้นานหลายปีถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี
ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนต่อโรคทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
ตลาดมีความต้องการสูงมีเท่าไหร่ก็ขายได้หมด
ราคาดีมีความคงที่ 
ให้ยอดทั้งปีไม่มีการทิ้งช่วงหรือรอฤดูกาล

ผักหวานบ้าน  มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายมีสารอาหารหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีเบต้า-แคโรทีน สารต้านมะเร็งเป็นตัวนำ ตามด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อกระดูกแข็งแรง ต่อด้วยแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ


ส่วนของผักหวานบ้านที่นำมาใช้กินเป็นผัก ก็คือ ใบและยอดอ่อน โดยใช้เป็นผักจิ้ม ซึ่งนิยมลวกให้สุกเสียก่อน หรือนำไปแกง เช่น แกงเลียง หรือแกงจืด นอกจากนั้นยังนำไปผัด เช่น ผัดน้ำมันหอย เป็นต้น น่าสังเกตว่า ชนิดอาหารที่ปรุงจากผักหวานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผักจิ้ม แกงเลียง แกงจืด หรือผัดน้ำมันหอย ล้วนแล้วแต่มีเครื่องปรุงแต่งน้อย เพต้องการให้ได้รสชาติของผักหวานบ้านมากเป็นพิเศษ เพราะถือว่ามีรสชาติดีกว่าผักทั่วไป หากสมาชิกครูบ้านบอกได้ผ่านมาทางยโสธร  ตอนเย็นที่ตลาดสดบ้านตาดทอง  มีผักหวานบ้านสดๆ ใหม่ๆ  มากมาย (ชาวบ้านแถวนี้เขาปลูกผักขาย)  ราคาก็แสนถูก  ถาดละ  10  บาท  (กองใหญ่)  ถ้าคุณนำไปทำอาหารร่วมกับไข่มดแดง (ที่ตลาดตาดทองมีเยอะแยะ สด ๆ จากรังเช่นกัน) แซบอย่าบอกใครเชียว
 
ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักหวานบ้าน
นอกจากด้านอาหารแล้วผักหวานบ้านยังมีสรรพคุณด้านยาหลายประการ เช่น ในตำราสรรพคุณสมุนไพร ระบุว่า
 
ราก : เป็นยาถอนพิษร้อน  พิษไข้ พิษทราง ถอนพิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ขัดเบา แก้ไอ  แก้คางทูม คอพอก แผลฝีใบ : ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ เป็นยาประสะน้ำนม ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แก้แผลฝี 

ดอก  :   ใช้ขับโลหิต
น่าสังเกตว่าในผักหวานบ้าน มีวิตามินเอมากเป็นพิเศษ คือ ใน ๑๐๐ กรัม มีวิตามินเออยู่สูงถึง ๑๖,๕๙๐ หน่วยสากล (I.U.) และวิตามินเอมีผลเกี่ยวกับสายตามาก การกินใบผักหวานบ้าน หรือใช้น้ำจากใบผักหวานบ้านหยอดตา คงมีผลจากวิตามินเอบ้างเป็นแน่ ทรงพุ่มของผักหวานบ้าน ต่างจากผักชนิดอื่นๆ (ที่เป็นพุ่มยืนต้น) ตรงที่ผักหวานบ้านสามารถแตกหน่อขึ้นเป็นต้นใหม่รอบๆต้นเดิมได้เช่นเดียวกับต้นไผ่ ทำให้ทรงพุ่มแผ่กว้างออกไปด้านข้างได้ดี และทำให้ลำต้นอ่อนอยู่เสมอ ทั้งเมื่อเด็ดยอดแล้วก็สามารถแตกยอดออกมาใหม่ได้อีกด้วย จึงเป็นผักที่เหมาะสำหรับปลูกเอาไว้กินในสวนครัว เพราะทั้งปลูกง่าย แข็งแรงทนทาน มียอดและใบอ่อนอยู่เสมอ รสชาติดี ประกอบอาหารง่าย และคุณค่าทางอาหารก็สูงด้วย ฯลฯ
Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร