รายการอัพเดทล่าสุด

การเพาะเห็ดเข็มทอง


เห็ดเข็มทอง
     ในบรรดาเห็ดรับประทานที่ชอบอากาศเย็นและนิยมเพาะเป็นการค้าอย่างกว้างขวาง นั้น นอกจากเห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม และเห็ดหอม แล้ว ยังมีเห็ดเข็มทองหรือเห็ดเข็มเงินอีกชนิดหนึ่งที่เพาะกันมาก โดยทั่วโลกมีการผลิตเห็ดเข็มทองเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยในปี พ.ศ. 2529 ผลิตได้ 100,000 ตัน ปี พ.ศ. 2534 ผลิตได้ 187,000 ตัน สำหรับประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตหลายใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2529 ผลิตได้ 74,387 ตัน ในปี พ.ศ. 2534 ผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 95,123 ตัน และในปี ค.ศ. 2536 ผลิตได้ 103,357 ตัน สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกามีการผลิตเห็ดเข็มทองเพิ่มขึ้นในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

สำหรับประเทศญี่ปุ่นเทคโนโลยีการเพาะเห็ดนี้ได้รับการพัฒนารุดหน้าไปมาก จนสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งชาวญี่ปุ่นเองก็นิยมบริโภคเห็ดเข็มทอง อาจจะเป็นเพราะมีรสชาติดี สะอาด นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด ทั้งประเภทน้ำและแห้ง เช่น อาหารสุกี้ และน้ำซุป เห็ดเข็มทองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แฟลมมูลินา เวลูทิเพส (Flammulina velutipes) พบขึ้นทั่วไปในเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นกับไม้ที่ตายแล้วและออกดอกในช่วงฤดูหนาว ชาวบ้านจึงนิยมเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดเหมันต์ ดอกเห็ดในธรรมชาติมีสีเหลืองถึงส้ม น้ำตาลถึงแดง หมวกเล็ก ก้านเห็ดสั้น ชาวญี่ปุ่นรู้จักรับประทานเห็ดชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ จนสามารถเพาะเห็ดจากท่อนไม้แทนการเก็บเห็ดจากป่า และต่อมาได้รับการศึกษาค้นคว้าจนพบวิธีการเพาะเห็ดจากขี้เลื่อย และพัฒนาเรื่อยมาจนสามารถเพาะเห็ดเข็มทองได้ตลอดทั้งปี ภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ก็ได้ผสมพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามต้องการ เช่น ดอกเห็ดสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน เจริญดี ออกดอกง่าย ผลผลิตสูง มีอายุการตลาดอยู่ได้นาน ดังเช่นสายพันธุ์ที่ใช้เพาะกันอยู่ทุกวันนี้

สำหรับ เห็ดเข็มทองและเห็ดเข็มเงินจะอยู่ในตระฉันลเดียวกัน เห็ดเข็มเงินและเข็มทองมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างกันเล็กน้อย คือ เห็ดเข็มเงินก้านดอกและหมวกดอกจะมีสีขาว ส่วนเห็ดเข็มทองมีก้านดอกและหมวกดอกสีเหลืองทอง ส่วนบริเวณโคนก้านมีสีน้ำตาลดำ แต่เห็ดทั้งสองก็มีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนกันทุกประการ ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน เยื่อใยและส่วนที่เป็นเถ้า ร้อยละ 31.2 , 5.8 , 3.3 และ 7.6 ตามลำดับ ลักษณะของดอกเห็ด ทั้งหมวกดอก ก้านดอกเหมือนเข็มหมุด ยาวเรียวมีความกรอบสูง เป็นเห็ดที่เจริญได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่นเดียวกับเห็ดแชมปิญอง และเห็ดหอม


 วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง    

     สำหรับวิธีการเพาะเห็ดเข็มทองมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดอื่นๆ คือ  ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมเชื้อเห็ด โดยการนำเส้นใยเห็ดที่อยู่ในอาหารวุ้นพีดีเอขยายลงในเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่าน การฆ่าเชื้อมาแล้ว หลังจากเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างแล้วก็ให้นำเมล็ดข้าวฟ่างมาลงวัสดุ เพาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยวัสดุเพาะที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ
 
-ขี้ เลื่อยผสมรำละเอียดร้อยละ 10 ถึง 20 นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบร้อยละ 5 ถึง 10 และอาหารเสริมอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์ ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 58 ถึง 62 นอกจากนี้ยังมีสูตรสำหรับการเพาะเห็ดอีกสูตรหนึ่งซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อย ไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม รำละเอียด 20 กิโลกรัม ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม น้ำ 60 กิโลกรัม

-วัสดุทั้งหมดนี้นำเข้าคลุกให้เข้ากันอย่างดี จะมีความชื้นร้อยละ 60-65 นำอาหารที่เตรียมนี้ไปบรรจุที่ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 คูณ 12 นิ้ว อาจบรรจุในถุงพลาสติกอัดได้ อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม ใส่คอขวด ปิดจุกสำลี นอกจากนี้อาจใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้ ความจุ 1 ลิตร ปากกว้าง 6 เซนติเมตร ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ ซึ่งนิยมทำกันมากในประเทศญี่ปุ่น

-สำหรับ ในประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ ขี้เลื่อยผสมกับรำละเอียดในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 แต่ในประเทศอเมริกาใช้ข้าวโพดบดแทนขี้เลื่อย หลังจากนั้นให้นำขวดหรือถุงเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิ อยู่ระหว่าง 18 ถึง 20 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 25 ถึง 30 วัน เชื้อก็เจริญเต็ม เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวดหรือถุง ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อน ขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็นเชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ นำไปไว้ หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 ถึง 15 องศาเซลเซียส แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด ความชื้นร้อยละ 80 ถึง 85 ไม่ต้องใช้แสงสว่าง รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ ใช้เวลา 5 ถึง 10 วัน ก็จะสร้างตุ่มดอก แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 ถึง 3 เซนติเมตร

หลัง จากนั้นให้นำแผ่นพลาสติกหรือกระดาษห่อหุ้มปากขวดหรือปากถุงเป็นทรงกรวย เพื่อประคองให้ลำต้นขึ้นตั้งตรงเป็นกลุ่ม จนกระทั่งได้ดอกสูง 12 ถึง 14 เซนติเมตร จึงเอาพลาสติกออกเก็บดอกเห็ดโดยจับโคนดอกบิดดึงให้หลุดออกทั้งกอ เพราะบริเวณโคนดอกจะเชื่อมติดกันด้วยเส้นใยเห็ด เก็บดอกครั้งเดียวเพราะดอกชุดต่อไปจะออกน้อย คุณภาพไม่ดีไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่าย ระยะเวลาตั้งแต่สร้างตุ่มดอกจนถึงเก็บเห็ดได้ใช้เวลา 25 ถึง 28 วัน ได้ผลผลิต 150 ถึง 200 กรัมต่อขวด เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต และให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี ลำตันอวบแน่น จึงจำเป็นต้องเปิดดอกที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 3 ถึง 8 องศาเซลเซียส พร้อมทั้งให้แสงสว่างและเพิ่มการถ่ายเทอากาศมากขึ้น ความชื้นประมาณร้อยละ 85 ก็จะทำให้ได้ผลผลิตสูง รวมทั้งดอกเห็ดก็มีคุณภาพด้วย

ใน สมัยก่อนเห็ดเข็มทองเป็นเห็ดเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี เป็นต้นนำเข้ามาขายในประเทศไทยในราคากิโลกรัมละหลายร้อยบาท เพราะต้องขนส่งทางเครื่องบิน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะและส่งไปขายในประเทศไต้หวันได้แล้วโดย เฉพาะในโรงเพาะเห็ดในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งสามารถผลิตได้วันละเกือบ 5 ตัน นอกจากนี้ก็ยังมีโรงเพาะเห็ดในจังหวัดปทุมธานี และโรงเพาะเห็ดที่จังหวัดชลบุรีที่สามารถผลิตออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ภายในประเทศ ทำให้ราคาของเห็ดเข็มทองนั้นปัจจุบันเหลือแค่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทเท่านั้น เอง ดังนั้นท่านผู้ฟังหรือเกษตรกรที่สนใจจำเป็นต้องสร้างห้องเปิดดอกที่ใช้ เครื่องปรับอากาศควบคุมอุณหภูมิ โดยเห็ดเข็มทองจะใช้อุณหภูมิเปิดดอกที่ 5 ถึง 15 องศาเซลเซียส โดยเกษตรกรต้องเก็บครั้งเดียวทั้งหมด แล้วจึงนำก้อนเห็ดรุ่นใหม่ลงเพาะได้ เห็ดเข็มทองจะให้ผลผลิตถุงละประมาณ 270 กรัม โดยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ต้นทุนครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ สำหรับราคาจำหน่ายก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อหักต้นทุนแล้วการจำหน่ายเห็ดเข็มทองจะได้กำไรจากการขายส่ง กิโลกรัมละ 20 ถึง 40 บาท ซึ่งเห็ดเข็มทองยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก เพียงแต่ท่านผู้ฟังหรือเกษตรกรต้องมีความพร้อม และศึกษาด้านการเพาะอย่างจริงจัง ก็สามารถผลิตในเชิงการค้าได้

นายสุดสายชล หอมทอง
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

การปลูกไผ่ตรง



การปลูกไผ่ตรง 
ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู โดยลักษณะตามสายพันธุ์มีดังนี้
1. ไผ่ตงหม้อ หรือ ไผ่ตงใหญ่ หรือ ไผ่ตงหนัก ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีลำขนาดใหญ่ ลำยาวตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 12-18 เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ กอโปร่ง เพราะแตกกิ่งแขนงน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม (หน่อหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ก็เคยมี แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์และอายุกอยังไม่มาก) หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงและน้ำตาลดำอมม่วง บนกาบหน่อมีขนค่อนข้างละเอียด เนื้อหน่อมีสีขาว แต่แข็งและหยาบกว่าตงดำ ช่วงออกหน่อจะอยู่กลางฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)

2. ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงกลาง สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อ คือเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-12 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่สำคัญลำต้นมีสีเขียวเข้มจนไปถึงอมดำ จึงเป็นที่มาของชื่อตงดำ ลำต้นเตี้ยกว่าและสั้นกว่าตงหม้อ ข้อค่อนข้างเรียบ และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณปล้อง ใบมีสีเขียวเข้มขนาดใหญ่และหนากว่าไผ่ตงสายพันธุ์อื่นๆ หน่อไผ่ตงดำจัดเป็นสุดยอดหน่อไม้ที่มีคุณภาพดีมาก เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ เนื้อขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน นิยมนำมาทำตงหมก หน่อจะมีน้ำหนักประมาณ 3-6 กิโลกรัม

3. ไผ่ตงเขียว  นี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ

4. ไผ่ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มาก  ไผ่ตงที่ขายกันส่วนมากแล้วก็จะมีตงหม้อและตงเขียวศรีปราจีนที่ขายกัน และกิ่งพันธุ์ไผ่มักนิยมขยายด้วยวิธีตอนกิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไผ่ ตงออกรากง่าย ลำหนึ่งตอนได้ทีเป็นสิบกิ่ง และกิ่งพันธุ์มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีชำกิ่งแขนง และชำลำที่มีแขนงติดมาด้วยก็นิยมเช่นกัน เพราะสะดวกรวดเร็ว และได้จำนวนมาก ส่วนวิธีดูว่ากิ่งพันธุ์ที่ขายนั้นเป็นไผ่ตงจริงหรือไม่นั้น มีลักษณะดูง่ายๆ คือ ที่ลำแม่ที่เขาตัดมาชำนั้น ที่หัวเขาจะตัดให้เป็นหัวแหลมหรือเฉียงนั่นเอง ส่วนไผ่เลี้ยงจะตัดตรงๆ สังเกตลักษณะการตัดได้ที่ลำแม่ที่ชำเช่นกัน

ไผ่ตง เราจะเน้นบริโภคหน่อเป็นหลัก แต่ลำก็ใช้ติดตรงที่เนื้อไม้บางลำกลวงมีช่องว่างมาก เหมาะกับการทำของที่ระลึก ของใช้ ของชำร่วยที่ไม่มีการกดทับมากนัก เฟอร์นิเจอร์ก็ทำได้แต่ต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการตัด การรักษาเนื้อไม้ และการประกอบ

การเลี้ยงปลากัด



ปลากัด Betta splendens Regan   เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท อาชีพพารวย

ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ

การเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น อาชีพพารวย โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish


การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด   เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1  1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี อาชีพพารวย เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลาดพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้

น้ำที่ใช้เลี้ยง ปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มีความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 1/2 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ


อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ปลากัดเป็นปลาที่ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล (Artemia) ที่มีชีวิต การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากินอิ่ม อาหารที่ใช้เลี้ยงทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง การถ่ายเทน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์   ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้

ปลาเพศผู้   คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์

ปลาเพศเมีย   คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่น้ำ”



วิธีการเพาะพันธุ์ อาชีพารวย       
นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาวางติดกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “เทียบคู่” ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน
จากนั้นนำปลาเพศผู้และเพศเมีย ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว กาละมัง ตู้กระจกหรืออ่างดิน แล้วใส่พันธุ์ไม้น้ำที่แช่ด่างทับทิมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชนิดพันธุ์ไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวาเป็นต้นเมื่อปลาสามารถปรับตัวให้ชินกับสภาพในภาชนะ (ประมาณ 1-2 วัน) ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้  หลังจากสร้างหวอดเสร็จ ปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดขณะที่ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศจากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาเพศผู้จะตามลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่าจะหมดเมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะหลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่
ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออก

การอนุบาลลูกปลา ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ 36 ชั่วโมง โดยในช่วงแรก จะมีถุงอาหาร (Yolk sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นช่วง 3-4 วันแรก จึงยังไม่ต้องให้อาหาร เป็นเวลา 3—5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง (Moina) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นไรแดงเต็มวัย เลี้ยงต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถกินลูกน้ำได้ และผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้เมื่อปลามีอายุประมาณ 1 ? เดือนขึ้นไป


การเลี้ยงปลาหมอสี






การเลี้ยงดู
ปลาหมอสี เป็น ปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไรทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาดเล็ก ไส้เดือน หรือ อาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลามีสีสันเด่นชัดก็อาจให้ อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะนำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถ เร่งสีปลาหมอสี ได้ดีที่สุดในจำนวน อาหารปลาหมอสี ทั้งหมด  อาชีพพารวย

ปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยไรน้ำนางฟ้า
การเลี้ยงปลาหมอสี เป็น ปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้น การเลี้ยงปลาหมอสี หลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ

การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กินและนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลายแบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด  อาชีพพารวย  โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากินและปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้าเป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็นเพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมียยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ

การเลี้ยงปลาหมอสี ( ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับ นักเลี้ยงปลา หมอสี มือใหม่ )
1.นิสัยของ ปลาหมอสี เมื่อเรารู้นิสัยของ ปลาหมอสี แล้วเราต้องรูด้วยว่า ปลาหมอสี กินอะไรปลาหมอสที่โตแล้วจะ กินหนอนนก หรืออาหาร ปลาหมอสีโ ดยเฉพาะเม็ดใหญ่ ปลาหมอสี ตัวเล็กก็เริ่มจากการ กินหนอนแดง ก่อนแล้วถ้าโตจนสามารถ กินหนอนนก ได้ก็เอาหนอนนกให้มันกินจะเสริมด้วยกุ้งก็ได้ เพราะโปรตีนจากกุ้งแล้วหนอนนก หนอนแดงนั้นจะทำให้ปลาหมอสีโตเร็วและยังเป็นการทำให้ปลาหมอสี มี โหนกใหญ่

2.ตู้ปลา สำหรับ เลี้ยงปลา
ตู้ที่จะเลี้ยงปลา ที่ไม่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ติดเครื่องอุณหภูมิ ให้ปลาเพื่อปรับอุณหภูมิให้ปลา ติดเครื่องกรองน้ำให้ปลามีให้น้ำขุ่นจนเกินไป ใส่หินให้ปลาเพราะปลาหมอสีจะชอบเล่นออมหิน แล้วการติดไฟให้ปลา การติดไฟให้ปลานั้นจะต้องเป็นไฟสีชมพู เป็นไฟสำหรับ ปลาหมอสี โดยเฉพาะ เพราะถ้าเรานำ ไฟที่ไม่ใช่ไฟใส่ปลามาใส่จะทำให้ ปลาหมอสี ตาบอด ได้ จึงแนะนำ ไฟจัดตู้ปลา ที่ เป็น ไฟเฉพาะ สำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี เท่านั้น  อาชีพพารวย


การดูแล และ ควรพึงปฏิบัติ กับภาระกิจ เลี้ยงปลาหมอสี อ่านสักนิด ก่อนคิด จะเลี้ยง เจ้าหมอสี (รัก และ เอาใจใส่ หนึ่งชีวิต ใน กำมือ ของคุณ )
หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ
1. น้ำสำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี นั้น น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้ เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของ ตู้เลี้ยงปลาหมอสี ควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวก หมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสี กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด ที่จัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลง ก่อน จัดลงตู้
6. ตู้ปลาหมอสี ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำใน ตู้ปลา ได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะ เปลี่ยนน้ำตู้ปลา บริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

การเลี้ยงปลามังกร





 การเลี้ยงปลามังกร

 ปลาอะโรวาน่า (arowana) นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามน่าเกรงขามมีเกล็ดขนาดใหญ่และมีสีสีนแวววามมีหนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย"มังกร"  อาชีพพารวย  นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่าโดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดจึงส่งผลให้ราคาปลาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง

สำหรับปลาอะโรวาน่าเกือบทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์จากทวีปเอเชีย จากการศึกษาตามประวัติของปลาชนิดนี้พอที่จะทราบได้ว่ามีการขุดค้นพบซากฟอลซิลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงทราบว่าปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล "Osteoglossidae"ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tougue ปลาชนิดนี้พบกระจายอยู่ใน 4 ทวีปทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีปออสเตรเลีย โดยปลาที่มาจากแต่ละทวีปจะมีรูปร่างลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างกันตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาที่มาจากทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีราคาแพงมากที่สุด

arowanas สายพันธุ์อเมริกาใต้  อะโรวาน่า ปลาตะพัด หรือปลามังกร  เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Osteoglos Sidae  (ออสทีโอกลอสซีดี้) ปลาในตระกูลนี้พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันและผันแปรไปตามแหล่งที่สามารถพบได้ แบ่งได้ 4 สกุล(Genus) และ มีอีก 7 ชนิด(Specises)ด้วยกัน คือ ทวีปอเมริกาใต้  3 ชนิด ทวีปออสเตเลีย 2ชนิด ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด ทวีปเอเบียอีก 1 ชนิด  (4 สายพันธุ์) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป

ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะ เป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามน่า เกรงขามมีเกล็ดขนาดใหญ่และมีสีสีนแวววามมี หนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย"มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่างๆ เข้ามาเกี่ยว ข้องกับปลาอะโรวาน่าโดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยง ปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลา ชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จึงส่งผลให้ราคาปลาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง สำหรับปลาอะโรวาน่าเกือบทุก สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์จากทวีปเอเชีย จากการศึกษาตามประวัติของปลา ชนิดนี้พอที่จะทราบได้ว่ามีการขุดค้นพบซากฟอลซิลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงทราบว่าปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล "Osteoglossidae" อาชีพพารวย  ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tougue ปลาชนิดนี้พบ กระจายอยู่ใน 4 ทวีป ทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีป ออสเตรเลีย โดยปลาที่มาจากแต่ละทวีปจะมีรูปร่างลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างกัน ตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาที่มาจากทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีราคาแพงมากที่สุด สายพันธุ์อเมริกาใต้ อะโรวาน่า ปลาตะพัด หรือปลามังกร เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Osteoglos Sidae (ออสที โอกลอสซีดี้) ปลาในตระกูลนี้พบแพร่กระ จายอยู่ทั่วโลก โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่าง กันและผันแปรไปตามแหล่งที่สามารถพบได้ แบ่ง ได้ 4 สกุล(Genus) และ มีอีก 7 ชนิด(Specises) ด้วยกัน คือ ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด ทวีปออสเตเลีย 2ชนิด ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด ทวีปเอเบียอีก 1 ชนิด (4 สายพันธุ์) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไปดังนี้


1. กลุ่มทวีปเอเชีย
2. กลุ่มทวีปอเมริกาใต้
3. กลุ่มทวีปแอฟริกา
4. กลุ่มทวีปออสเตรเลีย และนอกจากนั้นลักษณะสีของลำตัว หัวและครีบ ของปลา อะโรวาน่าก็มีสีแตกต่างกันออกตามสาย พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์




ถิ่นกำหนด
ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้) ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล  อาชีพพารวย
(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ
ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด
ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด
ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด
ทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4 สายพันธุ์)



การเลี้ยงปลามังกร
1. การเตรียมตตู้  การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก  มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง    ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อที่

ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว  ทำให้การว่ายไม่สง่า  ครีบลู่  วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ  แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป  ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน  เป็นต้น  อาชีพพารวย

ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่  เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น  จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด  และการว่ายจะไม่มีปัญหา  และปลาจะไม่เกิดความเครียด
เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น


2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน  บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง  ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง  ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม  วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น  หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย  จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่  น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่  น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง  น้ำฝน  น้ำบาดาล  น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ


3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา  อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่  แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง  รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก  หนอนยักษ์  จิ้งหรีด  กบ  ตะพาบ  ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน  แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้  อาชีพพารวย

 เดือนมกราคม     หนอนนก   กุ้งฝอย  ลูกปลา
 เดือนกุมภาพันธ์   หนอนยักษ์   กุ้งฝอย  ลูกกบ
 เดือนมีนาคม    จิ้งหรีด  กุ้งฝอย  เนื้อกุ้ง
 เดือนเมษายน   ตะขาบ  กุ้งฝอย  ลูกตะพาบ
 เดือนพฤษภาคม   แมลงป่อง  กุ้งฝอย  จิ้งจก
 เดือนมิถุนายน  ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่  เป็นต้น

หรือ   จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้   แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย  ได้แก่  หนอนนก  กุ้งฝอย  เนื้อกุ้งสด  ลูกปลา  จิ้งหรีด  ลูกกบ  อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่  แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้   เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว  จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้  หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ  จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้


เคล็ดลับการเลี้ยง"ปลามังกร"ให้โตเร็ว
          ปลามังกรจัดเป็นปลาที่มีราคาแพงทั้งในประเทศแลละต่างประเทศ ซึ่งถ้าได้เกณฑ์มาตรฐานแล้วราคาอาจสูงถึงหลักล้านเลยทีเดียว ผู้เลี้ยงปลามังกรหลายท่านเชื่อว่า ถ้าเลี้ยงแล้วจะมีโชคลาภ จึงทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลามังกรไม่เคยตกลงเลย มีผู้เลี้ยงบางท่านยอมลงทุนอย่างมากเพื่อที่จะได้ปลาชนิดนี้มาเลี้ยงโดยไม่ต้องคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่ปลามังกรตัวโตๆจะมีเกล็ดมันวาว แต่สำหรับบางท่านที่ต้องการเห็นตั้งแต่ตัวเล็กๆจนปลามังกรค่อยๆโตขึ้น เราก็มีเคล็ดลับง่ายๆในการเลี้ยงให้ปลามังกรโตเร็วและมีสุขภาพที่แข็งแรงด้วยวิธีง่ายๆและมีปัจจัยหลักๆดังนี้
อาหาร  สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลามังกร คือ โปรตีน และแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้เราหาได้จาก ปลา นั่นเอง ดังนั้นการให้ลูกปลาเป็นอาหารจะให้ผลดีที่สุด แต่ก็ควรสลับกับอาหารชนิดอื่นๆบ้าง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารชนิดนี้ควรล้างและลวกซะก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อบางชนิด บางท่านให้กินแมลงสาบเป็นอาหาร ซึ่งวิธีนี้ควรทบทวนให้ดี เพราะแมลงสาบเป็นพาหะอย่างหนึ่งที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ตัวปลา  ส่วนการให้ปลากินอาหารนั้น ควรให้ในปริมาณน้อยๆแต่ให้ถี่ๆ แต่คงจะยากสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งเฝ้าดูปลากินอาหารทั้งวัน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ขอแนะนำให้ฝึกปลากินอาหารให้เป็นเวลาจะดีที่สุด


อากาศ  เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงสมบูรณ์ และทำให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น ดังนั้นควรเปิดแอร์ปั๊มในตู้อยู่ตลอดเวลา

น้ำ  น้ำที่ดีที่สุดควรเป็นน้ำประปาที่ผ่านการกรองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 ชม. pH ควรอยู่ที่ 6.5-6.8 ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20-30% ของน้ำในตู้ทุกๆเดือน จะทำให้ปลารู้สึกสดชื่นกระตือรือร้นทันที

อุณหภูมิ  ไม่ควรปล่อยให้ต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย ควรรักษาอุณหภูมิในตู้ให้คงที่

สภาพแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จะทำให้ปลาไม่ตื่นกลัว และสามารถกินอาหารได้มากขึ้น

โรคภัย   โรคปลาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากผู้เลี้ยงละเลยปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมา และการสังเกตปลาเป็นโรคเบื้องต้น ให้สังเกตการกินอาหาร และการว่ายน้ำ ถ้ามีอาการช้าลงแสดงว่าปลาเริ่มเป็นโรคแล้ว ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด

เพียงแค่ท่านปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็จะได้เห็นปลามังกรที่โตเร็วและแข็งแรงเป็นผลตอบแทน  Fish Zone ฉบับที่ 45  ประจำเดือน มีนาคม  พ.ศ. 2547

การเลี้ยงจิดโป่ม


ชื่อพื้นเมือง จิดโป่ม จิ๊หล่อ (อีสาน)  จิ้งกุ่ง (เหนือ)  จิ้งโกร่ง (กลาง)
ชื่อสามัญ  Cricket
วิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus
ลำดับ(order )  Orthoptera
วงศ์  (Family)   Gyllidae
จิดโป่ม เป็นแมลงในวงศ์ จิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  แต่ครายังน้อย เคยเข้าใจว่า
เป็นสัตว์ในวงศ์ มดX supper one (พะนะ)  แต่นักวิทยาศาสตร์จัดมันอยู่ในประเภทเดียวกันกับ ตั๊กแตน
แรงดีดจากขาโต้ย (ต้นขา) แรงกว่าตั๊กแตน 2 เท่า ประมาณว่าหากมันเป็นมนุษย์
จะกระโดดไกลได้ 20 เมตร

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตรไม่รวมรยางค์ที่ปลายท้องและปีกคู่หลังที่ยื่นยาวออกไป
ส่วนอกกว้างที่สุดประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ทั้งสองเพศมีอวัยวะในการฟังเสียง
อยู่ที่โคน( tibia)ด้านนอกเป็นวงบุ๋มลงไป เพศผู้มีปีกคู่หน้าขรุขระซึ่งมีแผ่นที่ทำเสียงที่เรียกว่า ไฟล (file)
อยู่เกือบกึ่งกลางปีก และ สะแครบเปอร์ (scrapers) อยู่ที่มุมปีกด้านหลัง มีตุ่มทำเสียง (pegs) เรียงตัวกันอยู่ที่ขอบของแผ่นทั้งสอง

จิ๊ดโป่ม
มีจุดเด่นที่การร้องลำทำเพลง ทำให้เกิดเสียง เรียกว่าการ “ฮ้อง” แต่จริงๆ แล้วการเกิดเสียงจะเป็นการเสียดสีกันอย่างรวดเร็วโดยของปีกข้างหนึ่งเสียดสีกับ สะแครบเปอร์ของปีกอีกข้างหนึ่ง
อย่างรวดเร็ว เพศเมียไม่มีอวัยวะในการทำเสียงดังกล่าว ปีกจึงมีลักษณะเรียบ แต่ปลายท้องมีอวัยวะในการวางไข่รูปเข็มค่อนข้างยาวยื่นออกมาซางไม่พบในเพศผู้ แมลงชนิดนี้จัดเป็นอาหารเสริมรสเลิศของบางคนในชนบท โดยเฉพาะในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





วงจรชีวิต
โดยปกติ จิดโป่มมีอายุโดยเฉลี่ย  330 วัน  ตัวเมียอายุยืนกว่าตัวผู้   ตัวเมียตัวหนึ่ง วางไข่ได้
โดยเฉลี่ย  120 ฟองจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 87 วัน  หาอยู่หากิน 180 วัน ที่เหลือ
คือการ ทำรัง (ขุดรู) และสืบพันธุ์

การจับคู่ผสมพันธุ์
ตัวเต็มวัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน ( น้าหนาว ยามเกี่ยวข้าว )  โดยในช่วงนี้ จิดโป่ม
ตัวผู้จะทำฮัง หรือ ขุดรู เพื่อเตรียมวิมานน้อย ๆ  เมื่อเสร็จแล้ว ในตอนกลางคืนจะทำเสียงเพื่อเรียกตัวเมีย
เมื่อตัวเมียมาหา ตัวผู้จะเดินวนเวียนไปมารอบ ๆ ตัวเมีย มักพบการต่อสู้ของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมียอยู่เสมอ

พฤติกรรมการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในกลางคืน ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์จะตามหาตัวผู้จากนั้นจะซุกตัว
ที่ท้องตัวผู้ ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นตัวผู้จะอยู่นิ่งๆ และตัวเมียขึ้นไปอยู่บนหลัง
ตัวผู้จะกระดกปลายส่วนท้องขึ้น ในขณะที่ตัวเมียโน้มอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะวางไข่เล็กน้อย ให้แนบกับถุงน้ำเชื้อของตัวผู้ ถุงน้ำเชื้อนี้มีลักษณะเป็นถุงใสๆ ถุงนี้จะมาติดอยู่ที่ปลายส่วนท้องของตัวเมียช่วงนี้ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที จากนั้นตัวผู้จะพักอยู่นิ่งประมาณ 5 - 10 นาที  แล้วพาตัวเมียเข้ารู

การผสมพันธ์ของ จิดโป่ม ตัวเมียจะอยู่ด้านบน เพราะฉะนั้น ภรรยาที่ชอบ ข่มเหง สามี แสดงว่า ชาติแต่ก่อนเคยเป็นจิ๊ดโป่มภาพจิดโป่มที่หาลักขุดนำคันนาพ่อใหญ่สี

การกินอาหาร
จิดโป่ม กินหญ้าและใบไม้และผลไม้พื้นเมืองเป็นอาหาร เช่นในทางภาคอีสาน จิโป่มจะกิน หญ้าปล้อง
ผักโขมผักกะแยง และหญ้าวัชพืชอื่นๆ เป็นอาหาร ในฤดูทำรัง วางไข่มักจะ สะสม ผลไม้ ดอกหญ้าอื่นๆ
ไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารในหน้าฝน จะสะสมลูกหว้า และผลไม้ลูกเล็ก ๆ ในรัง

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
จิดโป่มถือว่าเป็นตัวแปรในการ หมุนเวียนแหล่งธาตุอาหารในดิน และเป็นอาหารให้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สัตว์เลื้อยคลานและ นก เป็นอาหารให้ กบเขียดอึ่งอ่าง ให้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ 
โบราณอีสานว่า หากถิ่นไหนจิดโป่ม สมบูรณ์ครอบครัวจะเป็นปึกแผ่น พี่น้องฮักกันสามัคคี 
ปลูกพืชระยะสั้นได้ผลดีแล  อีกทั้งยังเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น
ที่ไม่ต้องเสียภาษี ร้อยละ  7  หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกำไรไปเป็นทุนเล่นการเมือง
 

ความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตคนอีสาน
จิดโป่ม หรือ จิ้งโกร่ง เป็นอาหารของชาวอีสานในฤดูเก็บเกี่ยว น้ำในหนองคลองบึงเหลือน้อย แหล่งโปรตีนหายาก อาศัยแมลงชนิดนี้ เติมเต็มในส่วนที่พร่อง  เมื่อพ่อและแม่ ยากเวียกยากงาน เอื้อยและพี่น้องวัยไล่เลี่ยกันพากันถือเสียม และ คุ ลงท่ง ไปตามคันนา ท่งกว้าง ที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อ “ขุดจิโป่ม”  บ้างก็ถือ ขวดใส่น้ำ หรือ “กะตุง” เตรียมตัวไป ฮ่ายจิ๊ดโป่ม เป็นที่สนุกสนานคราจันทร์ทอแสงอับเฉา ในคืนเดือนแรม ก็ถือเอา ตะเกียงหรือ โคมไฟ  ไปไต้ จิ๊ดโป่ม คนธรรพ์แห่งทุ่งทุ่งนาเถาลำเนาไพร อลอึงด้วยเสียงเพรียกแห่งรัก ข้าวเหนียวจี่  กับ จิดโป่ม “จ่าม” ช่างโอชะ  เอื้อยป้อนจิ๊ดโป่มกับข้าวเหนียวให้น้อง พร้อมเช็ดขี้มูกให้   นั่งฟังนิทานที่พ่อเล่าเคล้ากลิ่นจำปาโรยร่ำ

จิ้งกุ่ง
จิ้งกุ่ง จิ้งโกร่ง หรือ จิโปม เป็นชื่อท้องถิ่นของจิ้งหรีดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus Lichtenstein อยู่ในวงศ์ Gryllidae อันดับ Orthoptera ลำตัวสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ตารวม (compound eye) ใหญ่มีสีน้ำตาลดำ ปากเป็นแบบปากกัดกิน มีกราม (mandible) ขนาดใหญ่ หนวดแบบเส้นด้าย (filifrom) มีลักษณะเป็นปล้องเล็กๆ ขาหลังเป็นแบบขากระโดดมีฟีเมอร์ (femur) ขนาดเล็บใหญ่ (claw) 2 อัน  ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน โดยตัวเมียมีผิวปีกคู่หน้าเรียบ แต่ของตัวผู้จะย่น ขรุขระอีกทั้งตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
 
จิ้งกุ่งเป็นแมลงที่มีกิจกรรมต่างๆ ในตอนกลางคืน (noctural behavior) ในช่วงเวลากลางวันจิ้งกุ่งจะหลบอาศัยอยู่ในรูโดยไม่ออกมา จิ้งกุ่งขุดรูโดยการใช้ขาคู่หน้าขุดดินและใช้ส่วนหัวดันดินขึ้นมา รูจิ้งกุ่งยาวราว50 – 60 เซนติเมตร ปกติจะอาศัยอยู่บริเวณก้นรู รูละ 1 ตัว อาจจะพบจิ้งกุ่งรูละ 2 ตัวได้เช่นกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์  จิ้งกุ่งจะขึ้นมาจากรูเพื่อกินอาหารในช่วงกลางคืน มันจะกินเป็นใบพืชหลายชนิด  แต่มันมักจะชอบใบพืชที่มีรสชาดผาดอมเปรี้ยว อีกทั้งมักจะนำอาหารกลับลงไปเก็บไว้ในรู


ในฤดูผสมพันธุ์
ยามค่ำคืน ตัวผู้แสดงอาการเกี่ยวพาราสีตัวเมียด้วยการส่งเสียงร้องโดยการเสียดสีบริเวณด้านในของปีกคู่หน้าทั้งสองข้างที่มีอวัยวะคล้ายตะไบ (file) file ของปีกข้างขวาถูเข้ากับสันขอบปีก (scraper) ของปีกข้างซ้าย พร้อมกับเดินวนเวียนไปมา แล้วตัวเมียจะเดินไปหาตัวผู้ตามเสียง
ตัวเมียจะวางไข่ ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน  โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ แต่จะวางใกล้ๆ กันเป็นกองๆ กองละประมาณ  30 - 40 ฟอง   3 - 4 ครั้ง ตลอดอายุของตัวเมียจะวางไข่ได้ราว 120-200  ฟอง ซึ่งเมื่อตัวเมียวางไข่เสร็จแล้ว จะมีอายุอีกประมาณ 20 วันจึงตาย มีอายุรวมราว 330 วัน ไข่มีลักษณะยาวรี  กว้างราว 1 มิลลิเมตร ยาวราว 4 มิลลิเมตร  มีลักษณะเป็นรูปวงรีคล้ายเม็ดข้าวสารสีเหลืองอ่อน เป็นมันวาว และจะเปลี่ยน เป็นสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัว ใช้เวลาฟักนานประมาณ  50-70  วัน ระยะตัวอ่อน (mymph)  ลอกคราบประมาณ 7 ครั้ง  ตัวอ่อนมีสีขาวใสและค่อยๆ มีสีเข้มเป็นสีน้ำตาลเมื่อโตเต็มวัย 

จิ้งกุ่งเป็นแมลงที่นิยมบริโภค  เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื้อมาก กินได้เกือบทั้งตัว มีโปรตีนสูงถึง 12 %  สามารถน้ำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น น้ำพริกนรก หรือนำไป ทอดกรอบ  ราคาขายปลีกในตลาดตกตัวละ 1.5 – 2.00 บาท และราคาขายส่งร้อยละ 150 –200 บาท  ช่วงที่จะพบและจับหาจิ้งกุ่ง คือ ช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน  ปัจจุบันสามารถหารับประทานได้เกือบตลอดปี เนื่องจากมีการเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น อย่างไรก็ตาม  พบว่าที่มีขายกันในตลาด เกือบทั้งหมดเป็นการหาจับจากธรรมชาติ  จึงเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า หากการขุดล่าเพื่อการค้า  ประกอบกับแหล่งอาหารตามธรรมชาติของจิ้งกุ่งถูกทำลาย  อาจทำให้ประชากรจิ้งกุ่งมีโอกาสจะลดน้อยหรือสูญหายไปได้   

การเลี้ยงนกกระทา





การเลี้ยงนกกระทา
นกกระทาที่นิยมเลี้ยงคือ นกกระทาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Quail) และการที่คุณจะเริ่มเลี้ยงนกกระทานั้น ขอแนะนำให้คุณ ซื้อลูกนก หรือนกใหญ่มาเลี้ยงเลย อย่าซื้อไข่ที่มีเชื้อมาฟักเองเลย เพราะมันเสี่ยงกับการฟักของลูกนก

เรามาดูปัจจัยในการทำฟาร์มนกกระทาให้ยั่งยืน และทำรายได้ให้เราตลอด กันดีกว่า
โรงเรือนและอุปกรณ์
อาหารนกกระทา
การจัดการเลี้ยงดู
โรคและการป้องกันโรค
การตลาด
ฟาร์มนกกระทา : โรงเรือน
โรงเรือนควรสร้างแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่ว และต้องให้สะดวกในการเลี้ยงดูนก หรือการทำความสะอาดด้วยนะ แล้วอีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะการระบายอากาศเป็นการนำเอาอากาศของเสียออกไปจากภายในโรงเรือน ซึ่งหากการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ภายในโรงเรือนอับชื้น กลิ่นแก๊สแอมโมเนียสะสม มีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ด้วย และเพื่อไม่ให้เกิดโรคกับนกกระทา
พื้นโรงเรือน ควรเป็นพื้นคอนกรีต เพราะสะดวกในการล้างทำความสะอาด สำหรับฝาโรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายหรือลวดถักขนาดเล็กๆ เพื่อกันหนู นก และสัตว์อื่นๆ

กรงสำหรับลูกนก
โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 0.5 เมตร สำหรับกกลูกนกอายุ 1-20 วัน ประมาณ 250-300 ตัว ด้านกว้างของกรงควรจะทึบ ส่วนด้านยาวโปร่ง แต่ถ้าอากาศหนาวควรจะปิดทึบทั้ง 4 ด้าน พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1×1 ซ.ม. หรือลวดตาข่ายพลาสติก ตาเล็กๆ วางซ้อนกันหลายๆ กรงก็ได้ แต่ต้องทำประตูเปิด-ปิดไว้ในทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน และควรมีภาชนะรองรับขี้นกจากกรงบนๆ ไม่ให้ตกใส่กรงด้านล่าง เพื่อป้องกันโรคระบาดด้วยกรงนกใหญ่


จะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่า ให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใด จะวางกรงซ้อนกันหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป และให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่กลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ใช้ตาข่ายขนาด 1×2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณืในการเลี้ยงดังนี้

รางน้ำ, รางอาหาร, เครื่องชั่งน้ำหนัก, รถเข็นอาหาร, สายยาง, ลังใส่ไข่, เครื่องพ่นยา, กรรไกรตัดปากนก เพื่อป้องกันไม่ให้นกจิกกัน
นี่คือ ราคาซื้อขาย ในตลาด
- ราคา นกกระทาเนื้อ ตลาดรับซื้ออยู่ที่ ตัวละ 8-10 บาท
- ราคา ไข่นก ขายส่ง 100 ฟอง 50 บาท
ถ้าคุณเลี้ยง 10,000 ตัว จะได้กำไร / เดือน ประมาณ 40,000 บาท


ก่อนเลี้ยงเรามาเรียนรู้ ข้อดี ของการเลี้ยงนกกระทากันก่อน
อย่างแรก นกกระทาสามารถทำผลผลิตได้ค่อนข้างสูง อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70% ของน้ำหนักตัว
นกกระทาจะให้ผลตอบแทนเร็วมากๆ เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
การเลี้ยงนกกระทาใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มาก
นกกระทายังสามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายอย่าง และเป็นเนื้อคุณภาพดี




เริ่มเลี้ยงนกกระทา
ต้องซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขาย ซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 – 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์


การให้อาหาร
จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนก โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24 28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้

การให้น้ำ
ใช้น้ำสะอาด และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ควรละลายพวกยาปฎิชีวนะผสมในน้ำให้ลูกนกกินด้วย จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกินตลอดเวลา


การเลี้ยงเป็ดไข่



การเลี้ยงเป็ดไข่
เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีเดิมเป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะ พิเศษเฉพาะพันธุ์

เพศเมีย
-   สีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว ขา และแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ
-   เริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว
-   ไข่มีขนาด 65 กรัม
-   กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด

 เพศผู้
-   ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว
-   หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น
-   ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ
-   ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม
-   ขาแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ


การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 0-2 สัปดาห์
การเลี้ยงเป็ดจะสำเร็จหรือไม่นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ดระยะ 2 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้น ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์ม ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอ สมบูรณ์มีภูมิคุ้มกันโรคระบาดและไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงในระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา โดยปกติแล้วลูกเป็ดอายุ 0-2 สัปดาห์ มีความต้องการอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือการเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง ความอบอุ่น อาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาดและการป้องกันโรค


1. การเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดไข่เข้ามาเลี้ยง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เจ้าของ
     1.1    ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก หรือห้องสำหรับกกลูกเป็ดจะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ากกลูกเป็ดบนพื้นคอกจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกๆ ครั้งที่นำลูกเป็ดเข้าคอก

     1.2    การ สั่งจองลูกเป็ด ก่อนที่จะเลี้ยงเป็ด ควรจะได้มีการวางแผนว่าควรจะเลี้ยงในช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสม และเมื่อตัดสินใจแล้วควจจะสั่งจองลูกเป็ดไว้ล่วงหน้า และควรสั่งซื้อสั่งจองจากโรงฟักลูกเป็ดที่มีชื่อเสียงที่ผลิตลูกเป็ดที่มี คุณภาพ และต้องส่งลูกเป็ดในถึงฟาร์มได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หากโรงฟักอยู่ไกลเกิน การขนส่งลูกเป็ดเกิน 24 ชั่วโมง จะทำให้ลูกเป็ดสูญเสียน้ำโดยระเหยออกจากตัว ทำให้ลูกเป็ดน้ำหนักลด มีผลต่อความแข็งแรงในระยะเวลาต่อมา

     1.3    การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำใต้ดิน น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้น หรือน้ำฝน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปา เพราะว่าลูกเป็ดจะตายหรืออ่อนแอมากเมื่อได้กินน้ำที่มีสารเคมี ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็อาจทำได้โดยเปิดน้ำเก็บไว้ในถึงเป็นเวลานานข้ามคืน
     1.4    โรงเรือนและอุปกรณ์ ก็จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่
โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่ลูกเป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นกต่างๆการระบายอากาศ โรงเรือนควรมีช่องระบายอากาศที่ดี ส่วนใหญ่แล้วโรงกกลูกเป็ดมักมีฝา ประตูและหน้าต่าง ค่อนข้างจะมิดชิด เพื่อเก็บความอบอุ่นและป้องกันลมแรง การมีช่องระบายอากาศจึงมีความสำคัญฟาร์มจะต้องตระเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะนำลูกเป็ดเข้าฟาร์ม


2. การกกลูกเป็ด
การกกลูกเป็ดอายุ 1-2 สัปดาห์
เป็นการทำให้ลูกเป็ดอบอุ่น อาจจะกกบนพื้นดินที่โรยด้วยขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด หนาประมาณ 1-2 นิ้ว หรืออาจเป็นพื้นดินที่มีดินทรายรองพื้นก็ได้  การกกควรแบ่งลูกเป็ดออกเป็นคอกๆ ละ 150-200 ตัว โดยใช้แผงไม้ขัดแตะหรือแผงกระดาษ หรือพลาสติกสูงประมาณ 1 นิ้ว กั้นระหว่างคอก เพื่อป้องกันลูกเป็ดนอนสุมกันในเวลากลางคืน ขนาดของคอกขึ้นกับอายุลูกเป็ด โดยเป็ดอายุ 0-1 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 30 ตัว ถ้าอายุ 1-2 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 23 ตัว และอายุ 2-3 สัปดาห์ ใช้อัตราส่วน 15 ตัว/พื้นที่ 1 ตารางเมตร

แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ 2 หลอด/ลูกเป็ด 200 ตัว หรืออาจใช้โคมไฟสังกะสีที่มีหลอดไฟใต้โคมแขวนสูงจากพื้น 1.5-2 ฟุต หรืออาจใช้แก๊สกกก็ได้อาจกกลูกเป็ดในตระกร้าไม้ไผ่หรือกล่องกระดาษ หรือสุ่มไก่โดยมีหลักว่าใช้ผ้าหรือกระสอบคลุมเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกเป็ด หรืออาจกกบนตาข่ายยกสูงจากพื้น 10-15 ซ.ม. ลวดข่ายหรือตาข่ายพลาสติก หรือไม้ไผ่ขัดแตะปูไปบนไม้หนา 2x4 นิ้ว ซึ่งวางเรียงกันบนพื้นซีเมนต์ที่ลาดเอียง ลูกเป็ดจะปล่อยเลี้ยงบนพื้นลวดตาข่ายและมีรางน้ำ รางอาหาร และไฟกกอยู่พร้อมลูกเป็ดถ่ายมูลออกมาและน้ำที่หกก็ตกลงบนพื้นซีเมนต์

เราสามารถล้างคอกได้ทุกวัน วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาความเปียกชื้นของพื้นคอก และนิยมมากในปัจจุบันใช้เวลากกลูกเป็ด 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ในฤดูร้อนอาจจะกกเพียง 9-10 วันก็พอ แต่ฤดูหนาวอาจจะกก 10-21 วัน แล้วปล่อยออกไปเลี้ยงในบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่น หรือถ้าหากไมมีบ่อน้ำก็สามารถเลี้ยงลูกเป็ดปล่อยในแปลงหญ้า หรือรอบๆ โรงเลี้ยงเป็ดที่มีชายคาหรือร่มไม้ มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลาถ้าอากาศร้อนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟกกลูกเป็ด

2.1    วัสดุรองพื้นคอกกก ถ้ากกบนพื้นดินควรรองพื้นด้วยวัสดุที่ดูดซึมความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ดินทราย ซังข้าวโพด การจัดการด้านวัสดุรองพื้นนับว่ามีความสำคัญมากเช่นเดียวกับการควบคุมความอบอุ่น วัสดุรองพื้นที่เปียกชื้น ควรนำออกไปทิ้งหรือไม่ก็เติมวัสดุใหม่ๆ ลงไปอีก

2.2    ความชื้นภายในคอกลูกเป็ดประมาณ 65-75% ถ้าหากความชื้นภายในคอกสูงเกินไป ควรปรับช่องระบายอากาศให้กว้างขึ้น หรือทำให้ลมพัดเข้าออกให้มากขึ้น ถ้าพื้นคอกเปียก ควรกลับแกลบเกลี่ยพื้นคอกให้น้ำระเหยออกไปทุกวัน

2.3    การปล่อยให้ลูกเป็ดเล่นน้ำ ในระยะแรกๆ 1-3 สัปดาห์ ลูกเป็ดยังไม่จำเป็นจะต้องเล่นน้ำ อาบน้ำ เราจึงกกไว้ในโรงกก เพราะอวัยวะที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้น้ำในร่างกายของลูกเป็ดยังไม่พัฒนา แต่กรณีลูกเป็ดเปื้อนสกปรกอาจให้ลูกเป็ดเล่นน้ำได้เพื่อล้างสิ่งสกปรก อาบน้ำ โดยปล่อยให้เล่นน้ำในเวลาที่มีแสงแดดจัด 5-10 นาที แล้วไล่ขึ้นมาตากแดดให้ขนแห้งแล้วไล่เข้าคอก

2.4    การให้แสงสว่าง ในระยะแรกต้องให้แสงสว่างตลอดเวลา โดยอาศัยไฟจากกรงกกในเวลากลางคืน ใช้หลอดนีออนขนาด 20 วัตต์ หรือหลอดสว่างขนาด 60 วัตต์ ต่อพื้นที่คอกกก 30 ตารางเมตร ส่วนกลางวันก็ใช้แสงธรรมชาติ การให้แสงสว่างต่อเนื่องตลอดวันระยะอายุ 2 วันแรก จะช่วยให้ลูกเป็ดได้กินน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ ทำให้ลูกเป็ดแข็งแรง

3. การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
ในระยะ 2 วันแรก ควรให้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาดๆ ใส่ในภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ยๆ เช่น ถาดสังกะสีหรือไม่ก็โรยบนกล่องกระดาษที่แกะเป็นแผ่นเรียบๆ บนพื้น อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะ 0-3 สัปดาห์ มีโปรตีน 17-18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,890 กิโลแคลอรี่ มีน้ำสะอาดวางให้กินห่างจากไฟกกประมาณ 30-50 ซ.ม. การให้อาหารและน้ำหลังจาก 2 วันแรกให้วางอาหารค่อยๆ ห่างจากไฟกก 1.5-2 เมตร และขยับให้ห่างออกเรื่อยๆ สุดท้ายให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การให้น้ำใส่ในขวดพลาสติกสำหรับให้น้ำเป็ดแลไก่ ให้วางอยู่ใกล้อาหาร ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมีคลอรีน ถังน้ำ ขวดน้ำ รางน้ำ ควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง

4. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเป็ดมาถึงฟาร์ม

การวางแผนล่วงหน้าในเรื่องต่างๆ ก่อนที่ลูกเป็ดจะมาถึงฟาร์มเป็นหน้าที่ของเจ้าของฟาร์ม ซึ่งต้องเอาใจใส่พิเศษ เมื่อลูกเป็ดมาถึงและนำออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันที่ที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้นของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อนอาหาร 2-3 ชั่วโมง เมื่อเห็นตัวใดกินน้ำไม่เป็น ควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้ นอกจากเราจะเอาน้ำไว้ให้ลูกเป็ดกินอยู่ใกล้ๆ เครื่องกก ผู้เลี้ยงจะต้องคลุกอาหารด้วยน้ำอย่างหมาดๆ โปรยบนแผ่นภาชนะแบนๆ หรือกระดาษแข็งใกล้ๆ เครื่องกกด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าลูกเป็ดทุกตัวได้กินทั้งน้ำและอาหาร


อาหารเป็ด
ใน ปัจจุบันมีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด

อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
1. อาหารสำเร็จรูป เป็น อาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย

 2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.

การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก 
วิธีการเก็บไข่  คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ  3  ฟอง  จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด  แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

โรคเป็ดและการป้องกัน
เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้
  
1. โรคอหิวาต์เป็ด
สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
อาการ : เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน  มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ  อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว  บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกระทันหันหรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก  ในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้

การรักษา   
การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก
ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้

การป้องกัน   
ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ : เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว   มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย         
อุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทรวรจะแดงช้ำหายใจลำบาก


การรักษา   
ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น

การป้องกัน  
โดยการทำวัคซีนป้องกัน ดังนี้
ครั้งแรก  ทำเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน    ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซี.ซี. หรือตามคำแนะนำในฉลากข้างขวด วัคซีนทั้งสองชนิด ซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์ หรือที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
ครั้งที่สอง  เมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน
ครั้งที่สาม  เมื่อเป็ดอายุ 6 เดือน

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร